เมนู

หากว่าพระโยคีบุคคลมีจิตตั้งมั่นย่อมเห็น
แจ้งได้โดยประการใดไซร้, และหากพระโยคี
บุคคลเมื่อเห็นแจ้งอยู่ ย่อมมีจิตตั้งมั่นได้โดย
ประการนั้น, ในกาลนั้น วิปัสสนา และสมถะ
เป็นธรรมมีส่วนเสมอกัน เป็นธรรมคู่กันเป็นไป.

เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่า ปจฺจยปริคฺคเห
ปญฺญา ธมฺมฏฺฐิติญาณํ
แปลว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย
เป็นธัมมัฏฐิติญาณดังนี้ไว้ ก็เพื่อจะให้รู้ว่า ตราบใดที่อริยมรรคยังไม่
ละสมาธิทำสมาธิกับปัญญาให้เป็นธรรมคู่กัน, พระโยคีบุคคลก็จำต้อง
ขวนขวายอยู่ตราบนั้น.

5. อรรถกถาสัมมสนญาณุทเทส


ว่าด้วย สัมมสนญาณ


ชื่อว่า อดีต เพราะอรรถว่า ถึงแล้ว ถึงยิ่งแล้ว ก้าวล่วงแล้ว
ซึ่งสภาวะของตนหรือ ขณะมีอุปปาทขณะเป็นต้น, ชื่อว่า อนาคต
เพราะอรรถว่า ไม่ถึงแล้ว ไม่ถึงพร้อมแล้ว แม้ซึ่งสภาวะของตนและ
ขณะมีอุปาทขณะเป็นต้นทั้ง 2 นั้น, ชื่อว่า ปัจจุบัน เพราะอรรถว่า